กีฬาแฮนด์บอล
เป็นพื้นฐานของการเล่นบาสเกตบอล
การเล่นแฮลด์บอลต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และทักษะด้านอื่น ๆ
ผสมผสานกัน
๑ องค์ประกอบการเล่น
การเล่นกีฬาแฮนด์บอล ต้องอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
๑) ผู้เล่น ประกอบด้วย ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๗ คน โดยเป็นผู้เล่นในสนาม ๖ คน และผู้รักษาประตู ๑ คน
๒) ลูกบอล ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมทรงกลม ผิวไม่ลื่น
๓) ระยะเวลาในการเล่น แบ่งออกเป็น ๒ ครึ่ง ครึ่งละ ๓๐ นาที และมีพักระหว่างครึ่ง ๑๐ นาที
๔) สนาม มีลักษณะ ดังนี้
(๑) สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีเส้นแบ่งแดนตารางกึ่งกลางสนาม
(๒) ประตูสูง ๒ เมตร ห่างกัน ๓ เมตร
๕) วิธีเล่น
(๑) ก่อนเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย เสี่ยงมีสิทธิเลือกแดนหรือเลือกส่งก่อน
(๒) เริ่มเล่น โดยให้ฝ่ายที่เลือกส่งลูกก่อนได้ส่งลูกจากบริเวณจุดศูนย์กลางของเส้นแบ่งแดน ให้กับเพื่อนฝ่ายตนเองทันทีภายในเวลา ๓ วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดแล้ว
(๓) ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ส่งลูกบอลต่อ ๆ กันไป เพื่อทำประตูให้ได้โดยขว้างบอลให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
(๔) การพาบอลเคลื่อนที่ไปให้ใช้มือเลี้ยงลูก
๒ กติกาการเล่นแฮนด์บอล
การเล่นแฮนด์บอลต้องยึดตามกฏ กติกาที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ
๑) กติกาทั่วไป มีดังนี้
(๑) ให้ผู้เล่นขว้าง ทำให้ลูกกระดอน หยุดจับ ในลักษณะใดก็ได้โดยใช้มือ แขน ศีรษะ ขาท่อนบน และหัวเข่า แต่ห้ามใช้ส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวเข่าลงมาถูกลูกแฮนด์บอล
(๒)ให้ผู้เล่นถือลูกบอลเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เกิน ๓ ก้าว
(๓) ให้ผู้เล่นครอบครองลูกได้ไม่เกิน ๓ วินาที
(๔) ให้ผู้เล่นส่งลูกจากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่งของตนได้
(๕) ให้ผู้เล่นส่งลูกขณะที่นั่งคุกเข่าหรือนอนอยู่ได้
(๖) ห้ามผู้เล่นขวางฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน ขา
(๗) ห้ามผู้เล่นดึงหรือตีลูกจากมือคู่ต่อสู้
(๘) ห้ามใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือเล่นรุนแรง
(๙) ห้ามดึงหรือผลักคู่ต่อสู้ด้วยมือและแขน
(๑๐) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
(๑๑) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
๒) การได้ประตู จะได้ประตูต่อเมื่อบอลผ่านเส้นประตู โดยที่ผู้ยิงประตูและผู้เล่นฝ่ายที่ทำประตูไม่ได้ทำผิดกติกา ถือว่าได้ ๑ คะแนน ต่อการยิงประตู ๑ ประตู ถ้าฝ่ายใดทำลูกเข้าประตูตนเอง ถือว่าอีกฝ่ายได้ประตูไป
๓) การส่งลูกจากมุมสนาม ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำลูกออกไปนอกเส้นประตูของตน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกจากมุมสนาม
๔) การส่งลูกจากประตู ถ้าฝ่ายรุกหรือผู้รักษาประตูของฝ่ายรับทำลูกออกนอกสนามทางเส้นหลังประตู ให้ผู้รักษาประตูของฝ่ายรับเป็นผู้ส่งลูกจากประตู การส่งลูกจากประตู ถ้าลูกเข้าประตูถือว่าไม่ได้คะแนน
๑ องค์ประกอบการเล่น
การเล่นกีฬาแฮนด์บอล ต้องอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
๑) ผู้เล่น ประกอบด้วย ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๗ คน โดยเป็นผู้เล่นในสนาม ๖ คน และผู้รักษาประตู ๑ คน
๒) ลูกบอล ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมทรงกลม ผิวไม่ลื่น
๓) ระยะเวลาในการเล่น แบ่งออกเป็น ๒ ครึ่ง ครึ่งละ ๓๐ นาที และมีพักระหว่างครึ่ง ๑๐ นาที
๔) สนาม มีลักษณะ ดังนี้
(๑) สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีเส้นแบ่งแดนตารางกึ่งกลางสนาม
(๒) ประตูสูง ๒ เมตร ห่างกัน ๓ เมตร
๕) วิธีเล่น
(๑) ก่อนเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย เสี่ยงมีสิทธิเลือกแดนหรือเลือกส่งก่อน
(๒) เริ่มเล่น โดยให้ฝ่ายที่เลือกส่งลูกก่อนได้ส่งลูกจากบริเวณจุดศูนย์กลางของเส้นแบ่งแดน ให้กับเพื่อนฝ่ายตนเองทันทีภายในเวลา ๓ วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดแล้ว
(๓) ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ส่งลูกบอลต่อ ๆ กันไป เพื่อทำประตูให้ได้โดยขว้างบอลให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
(๔) การพาบอลเคลื่อนที่ไปให้ใช้มือเลี้ยงลูก
๒ กติกาการเล่นแฮนด์บอล
การเล่นแฮนด์บอลต้องยึดตามกฏ กติกาที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ
๑) กติกาทั่วไป มีดังนี้
(๑) ให้ผู้เล่นขว้าง ทำให้ลูกกระดอน หยุดจับ ในลักษณะใดก็ได้โดยใช้มือ แขน ศีรษะ ขาท่อนบน และหัวเข่า แต่ห้ามใช้ส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวเข่าลงมาถูกลูกแฮนด์บอล
(๒)ให้ผู้เล่นถือลูกบอลเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เกิน ๓ ก้าว
(๓) ให้ผู้เล่นครอบครองลูกได้ไม่เกิน ๓ วินาที
(๔) ให้ผู้เล่นส่งลูกจากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่งของตนได้
(๕) ให้ผู้เล่นส่งลูกขณะที่นั่งคุกเข่าหรือนอนอยู่ได้
(๖) ห้ามผู้เล่นขวางฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน ขา
(๗) ห้ามผู้เล่นดึงหรือตีลูกจากมือคู่ต่อสู้
(๘) ห้ามใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือเล่นรุนแรง
(๙) ห้ามดึงหรือผลักคู่ต่อสู้ด้วยมือและแขน
(๑๐) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
(๑๑) ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู
๒) การได้ประตู จะได้ประตูต่อเมื่อบอลผ่านเส้นประตู โดยที่ผู้ยิงประตูและผู้เล่นฝ่ายที่ทำประตูไม่ได้ทำผิดกติกา ถือว่าได้ ๑ คะแนน ต่อการยิงประตู ๑ ประตู ถ้าฝ่ายใดทำลูกเข้าประตูตนเอง ถือว่าอีกฝ่ายได้ประตูไป
๓) การส่งลูกจากมุมสนาม ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำลูกออกไปนอกเส้นประตูของตน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกจากมุมสนาม
๔) การส่งลูกจากประตู ถ้าฝ่ายรุกหรือผู้รักษาประตูของฝ่ายรับทำลูกออกนอกสนามทางเส้นหลังประตู ให้ผู้รักษาประตูของฝ่ายรับเป็นผู้ส่งลูกจากประตู การส่งลูกจากประตู ถ้าลูกเข้าประตูถือว่าไม่ได้คะแนน
๓ ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล
ก่อนการเล่นแฮนด์บอล นักเรียนควรฝึกทักษะการจับบอล การเลี้ยงบอลและการรับส่งบอลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว ซึ่งทักษะต่าง ๆ ที่นักเรียนควรฝึก มีดังนี้
๑) การจับบอล ใช้มือทั้งสองข้างจับบอล โดยกางนิ้วออกให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน งอข้อศอกเล็กน้อย
๒) การส่งบอล
(๑) ส่งบอลสองมือระดับอกยืนแยกขาให้ห่างกันพอสมควร จับบอลให้อยู่ระดับอก แล้วก้าวไปข้างหน้า ๑ ก้าว พร้อมกับส่งบอลออกไป ให้แขนเหยียดตรง และมือแบออกด้านข้าง
(๒) ส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ ใช้มือทั้ง ๒ ข้างจับลูกบอลชูเหนือศีรษะ กางข้อศอกเล็กน้อย โยกแขนไปข้างหลังเล็กน้อย ส่งลูกบอลออกไปเหยียดแขนตรง พร้อมกับก้าวขาไปข้างหน้าจังหวะเดียวกับส่งบอลไป
(๓) ส่งบอลมือเดียวเหนือศีรษะ จับบอลด้วยมือข้างใดข้างหนึ่งแล้วชูขึ้นเหนือศีรษะ อีกมือหนึ่งประคองลูก ก้าวเท้าข้างที่ตรงข้ามกับมือที่ถนัดไปข้างหน้า ๑ ก้าว เอนตัวไปข้างหลัง แล้วสลัดมือปล่อยบอลออกไป
(๔) ส่งบอลกระดอน ยืนแยกขาห่างกันเล็กน้อย จับบอลให้อยู่ระดับอก แล้วผลักบอลออกไปโดยให้กระทบพื้น แล้วกระดอนไปข้างหน้า
(๕) ส่งบอลมือเดียวล่าง โดยจับบอลด้วยมือใดมือหนึ่งเป็นหลักอีกมือหนึ่งประคองบอลไว้ เหวี่ยงแขนไปด้านหลังเล็กน้อยก่อนผลักลูกบอลออกไป
(๖) ส่งบอลสองมือล่าง ย่อตัวลงเล็กน้อย จับบอลให้อยู่ระหว่างขาทั้งสอง ปล่อยบอลออกไป การส่งบอลสองมือล่างจะส่งได้ระยะสั้น ๆ
๓ ) การรับบอล
(๑) รับบอลสองมือระดับอก เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างขึ้นไปข้างหน้ากางนิ้วมือออก ให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน เมื่อลูกกระทบมือให้ดึงมือเข้าหาลำตัว
(๒) รับบอลสองมือเหนือศีรษะ เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างเหนือศีรษะโดยหันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อรับลูกแล้วให้ดึงมาหาลำตัวโดยเร็ว
(๓) รับบอลสองมือด้านข้าง หันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อลูกลอยมาเข้ามือให้ผ่อนมือและใช้มืออีกข้างหนึ่งประคองลูกไว้
(๔) รับบอลสองมือล่าง หันหน้าไปในทิศทางที่ลูกพุ่งมา ย่อเข่าลงพร้อมกับเหยียดแขนใช้นิ้วมือกางออกและชี้ลงพื้น เมื่อลูกกระทบมือแล้วให้ดึงลูกเข้าหาลำตัวโดยเร็ว
๔) การเลี้ยงบอล
ก้มตัวเล็กน้อย ย่อเข่า แล้วใช้มือข้างที่ถนัดเลี้ยงลูกบอล โดยกางนิ้วมือทั้งห้าออก แล้วกดลูกลงสู่พื้น เมื่อลูกกระดอนขึ้นมา ให้ผ่อนมือขึ้นเล็กน้อยจากนั้นกดลูกลงสู่พื้นอีก การเลี้ยงลูกมีทั้งเลี้ยงลูกต่ำและสูง การเลี้ยงลูกต่ำใช้ในการเคลื่อนไหวรวดเร็ว และหลบหลีกคู่ต่อสู้ ส่วนการเลี้ยงลูกสูงใช้ในการหาทิศทางการส่ง
๕) การยิงประตู
(๑) การยิงประตูแบบลูกกระดอนต่ำ กระโดดหรือยืนอยู่กับที่แล้วใช้มือเพียงข้างเดียวขว้างบอลให้ตกพื้นกระดอน เข้าประตูไปอย่างรวดเร็ว
(๒) การยิงประตูแบบกระโดดพุ่งตัว ให้ผู้เล่นที่เข้ายิงประตูก้าวเท้า ๑ ก้าว พร้อมกับกระโดดสปริงข้อเท้าให้ตัวลอยขึ้น แล้วขว้างบอลเข้าประตูอย่างรวดเร็ว
กติกาแฮนด์บอล
การแข่งขันแฮนด์บอล ทีมชายและทีมหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที ถ้าครึ่งแรกเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้ในครึ่งหลังก็จะต้องหักเวลาที่เกินออกไป แล้วเล่นจนเต็มเวลา 30 นาทีของครึ่งหลัง ถ้าผลเสมอกันในช่วงเวลาปกติ ให้เพิ่มเวลาพิเศษ หลังจากพักแล้ว 5 นาที เพื่อเสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดนสำหรับเวลาในการต่อเวลาพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่ง โดยไม่มีเวลพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้เสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีการพัก (ถ้าผลจากการต่อเวลาพิเศษยังเสมอกันอยู่ ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ)
*ทีมที่เข้าแข่งขัน
ต้องส่ง รายชื่อผู้เล่นทีมละ 12 คนลง (ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน) ที่เหลือเป็นผู้เล่นตัวสำรอง ขณะเริ่มแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน เมื่อแข่งไปจะมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คนก็ได้ การเปลี่ยนตัวเข้าออกได้ตลอดเวลา เปลี่ยนออกมาแล้วก็เปลี่ยนกลับลงไปเล่นได้อีก โดยไม่ต้องบอกผู้บันทึกและผู้จับเวลา แต่จะต้องรอให้ผู้เล่นในสนามออกจากสนามก่อน แล้วก็จะต้องเข้าออกตรงบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น ถ้ามีการเข้ามาเกินผู้เล่นคนนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นในทีมนั้นจะต้องออกจากสนาม 1 คน ให้เหลือ 6 คน อยู่ 2 นาทีแล้วแต่ผู้ตัดสินจะกำหนดให้ใครออก
* ผู้รักษาประตู
สามารถ ออกไปเล่นในสนามได้ และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลาแต่จะต้องเปลี่ยนเสื้อ กันด้วย เคลื่อนที่ไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอลได้โดยไม่มีขีดจำกัดแต่จะพาลูกออกไป นอกเขตประตูไม่ได้ ถ้าออกมานอกเขตแล้วจะกลับเข้าเขตประตูพร้อมกับลูกบอลไม่ได้ ให้นับเป็นประตู ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกบอลกลับเข้าประตูของตนก็ให้นับประตูนั้นด้วย
* การเล่นลูกบอล
1. อนุญาตให้ผู้เล่น ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมีทั้งสองได้ รวมทั้งแขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขา เข่า จับลูกบอลไว้ในมือเดียวหรือ 2 มือ จะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าวการพิจารณาก้าว คือ
*ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างบนพื้น แล้วยกเท้าหนึ่งวางลงหรือเคลื่อนไปที่อื่น
*ผู้เล่นสัมผัสพื้นเพียงเท้าเดียว จับลูกบอลแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งสัมผัสพื้น
*ก้าวขากระโดดลงพื้นด้วยเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น
*กระโดด ลงสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้ 2 พร้อมกัน แล้วยกเท้าข้างหนึ่งแล้ววางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งไปยังที่อื่น (ให้ลากเท้าอีกข้างตามได้)
*ในขณะยืนหรือวิ่ง กระดอนลูกครั้งหนึ่งและจับด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*การเลี้ยงลูกบอล กระดอนซ้ำด้วยมือเดียวหรือกลิ้งบอล หลังจากนั้นจึงจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*ขณะ ที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือนั้น ทำได้ภายใน 3 วินาที หรือจากก้าวไม่เกิน 3 ก้าว การกระดอนลูกสามารถใช้ส่วนต่างๆ ได้ เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูผู้เล่นสามารถที่จะปัด กระดอน และจับลูกบอลได้อีก
การแข่งขันแฮนด์บอล ทีมชายและทีมหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที ถ้าครึ่งแรกเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้ในครึ่งหลังก็จะต้องหักเวลาที่เกินออกไป แล้วเล่นจนเต็มเวลา 30 นาทีของครึ่งหลัง ถ้าผลเสมอกันในช่วงเวลาปกติ ให้เพิ่มเวลาพิเศษ หลังจากพักแล้ว 5 นาที เพื่อเสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดนสำหรับเวลาในการต่อเวลาพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่ง โดยไม่มีเวลพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้เสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีการพัก (ถ้าผลจากการต่อเวลาพิเศษยังเสมอกันอยู่ ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ)
*ทีมที่เข้าแข่งขัน
ต้องส่ง รายชื่อผู้เล่นทีมละ 12 คนลง (ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน) ที่เหลือเป็นผู้เล่นตัวสำรอง ขณะเริ่มแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน เมื่อแข่งไปจะมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คนก็ได้ การเปลี่ยนตัวเข้าออกได้ตลอดเวลา เปลี่ยนออกมาแล้วก็เปลี่ยนกลับลงไปเล่นได้อีก โดยไม่ต้องบอกผู้บันทึกและผู้จับเวลา แต่จะต้องรอให้ผู้เล่นในสนามออกจากสนามก่อน แล้วก็จะต้องเข้าออกตรงบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น ถ้ามีการเข้ามาเกินผู้เล่นคนนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นในทีมนั้นจะต้องออกจากสนาม 1 คน ให้เหลือ 6 คน อยู่ 2 นาทีแล้วแต่ผู้ตัดสินจะกำหนดให้ใครออก
* ผู้รักษาประตู
สามารถ ออกไปเล่นในสนามได้ และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลาแต่จะต้องเปลี่ยนเสื้อ กันด้วย เคลื่อนที่ไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอลได้โดยไม่มีขีดจำกัดแต่จะพาลูกออกไป นอกเขตประตูไม่ได้ ถ้าออกมานอกเขตแล้วจะกลับเข้าเขตประตูพร้อมกับลูกบอลไม่ได้ ให้นับเป็นประตู ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกบอลกลับเข้าประตูของตนก็ให้นับประตูนั้นด้วย
* การเล่นลูกบอล
1. อนุญาตให้ผู้เล่น ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมีทั้งสองได้ รวมทั้งแขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขา เข่า จับลูกบอลไว้ในมือเดียวหรือ 2 มือ จะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าวการพิจารณาก้าว คือ
*ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างบนพื้น แล้วยกเท้าหนึ่งวางลงหรือเคลื่อนไปที่อื่น
*ผู้เล่นสัมผัสพื้นเพียงเท้าเดียว จับลูกบอลแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งสัมผัสพื้น
*ก้าวขากระโดดลงพื้นด้วยเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น
*กระโดด ลงสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้ 2 พร้อมกัน แล้วยกเท้าข้างหนึ่งแล้ววางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งไปยังที่อื่น (ให้ลากเท้าอีกข้างตามได้)
*ในขณะยืนหรือวิ่ง กระดอนลูกครั้งหนึ่งและจับด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*การเลี้ยงลูกบอล กระดอนซ้ำด้วยมือเดียวหรือกลิ้งบอล หลังจากนั้นจึงจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*ขณะ ที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือนั้น ทำได้ภายใน 3 วินาที หรือจากก้าวไม่เกิน 3 ก้าว การกระดอนลูกสามารถใช้ส่วนต่างๆ ได้ เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูผู้เล่นสามารถที่จะปัด กระดอน และจับลูกบอลได้อีก
*ส่งบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง
2. เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้นไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
*ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากลูกบอลไปถูกผู้เล่นอื่น หรือเสาประตู
*การพยายามครองลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกลงโทษ
หมายเหตุ ลูกบอลพลาด หมายถึงการที่ผู้เล่นพยายามที่จะจับหรือหยุดลูกบอล แต่พลาดจากการครอบครอง
*ถูก ลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไปยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ ขว้างลูกบอลมาถูกผู้เล่น แต่อย่างไรก็ตาม การทำผิดอย่างนี้จะไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้ เล่นหรือทีมของเขา
*ทิ้งตัวลงเล่นในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือ กำลังกลิ้งอยู่ แต่กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูของ ตัวเอง
*เจตนาทำลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่พยายามที่จะครอบครอง ลูกบอลพลาดภายในเขตประตู และลูกบอลได้ออกไปทางเส้นประตูโดยตรง (ส่งจากประตู)
*ครอบครองลูกบอลอยู่ภายในทีม โดยไม่พยายามที่จะรุกหรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษโดยให้ส่งลูกกินเปล่าจากจุดที่ลูกได้หยุดลง
*การเล่นจะดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลถูกผู้ตัดสินในสนาม
* การนับประตู
จะ นับเป็นประตู เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตูโดยผู้ทำประตูและเพื่อนร่วมทีม ไม่ทำผิดกติกาก่อน ถ้าลูกบอลจะเข้าประตูแน่นอนแต่บุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปใน สนามมาป้องกันไม่ให้ลูกบอลเข้าประตู ผู้ตัดสินพิจารณาให้เป็นประตู เมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่งเริ่มเล่นต่อไปแล้ว ประตูที่ได้จะเปลี่ยนแปลไม่ได้ ผู้ที่ทำประตูได้มากกว่าถือว่าเป็นผู้ขนะการแข่งขัน
หมายเหตุ ถ้าทั้ง 2 ทีมได้คะแนนเสมอกัน ให้ถือว่าเสมอกัน
* การส่งเริ่มเล่น
จะ ทำที่จุดกึ่งกลางสนามในในทิศทางใดก็ได้ต้องทำภายใน 3 วินาที ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร (ยกเว้นผู้กระโดด)
* การส่งลูกเข้าเล่น
ต้องส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลออกโดยผู้ส่งลูกเข้าเล่นจะต้องมีเท้าข้างหนึ่งอยู่บนเส้น ข้างจนกว่าลูกจะหลุดมือแล้วผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด
* ผู้รักษาประตูส่งลูก
จะต้องส่งลูกบอลข้ามเส้นเขตประตูไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน
* การส่งลูกกินเปล่า
1. การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำในกรณีดังนี้
-การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู้สนามผิดกติกา
-ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา
-ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู
-เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง
-เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นประตูหรือเส้นข้าง
-ถ่วงเวลาในการเล่น
-การฟาวล์เนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากประตู
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า
-การหยุดเล่นโดยที่ไม่มีการทำผิดกติกา
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงประตูโทษ
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกของผู้ตัดสิน
-ทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่ง
-การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
-การรุกราน
2. ส่ง ณ จุดที่ผิดกติกาโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน ถ้าฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่า และจุดที่ผิดกติกาอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายรับ การส่งนี้ให้ส่ง ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับจุดที่ผิดกติกานอกเส้นส่งลูกกินเปล่า
3. ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งพร้อมลูกบอลแล้ว เขาจะเลี้ยงลูกบอลหรือวางลูกบอลลงแล้วเก็บขึ้นมาอีกไม่ได้
4. ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่ถูกหรือข้ามเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้ามในขณะ ที่ทำการส่งลูกกินเปล่า ผู้ตัดสินจะต้องจัดตำแหน่งผู้เล่นฝ่ายรุกที่เข้าไปอยู่ในเส้นส่งลูกกินเปล่า ให้ถูกต้องจากนั้นผู้ตัดสินจึงให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งลูกกินเปล่า
5. ในขณะส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากจุดส่งลูกกินเปล่าอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นฝ่ายรับอาจยืนใกล้จุดนอกเส้นเขตประตูได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าได้ทำการส่งบนเส้นส่งลูกกินเปล่า
6. ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในขณะที่ฝ่ายป้องกันทำผิดกติกา ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ ถ้าการทำผิดกติกานั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล จะต้องให้ฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อยถ้ามีการทำผิดกติกา แล้วฝ่ายรุกยังคงครอบครองลูกบอลได้อีกครั้ง จะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่า
7. ในกรณีที่การเล่นได้หยุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดทำผิดกติกา และมีทีมหนึ่งครอบครองลูกบอลอยู่ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยทีมที่ครอบครองลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง โดยการส่งลูกกินเปล่าหรือการส่งตามข้อกำหนด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณนกหวีด
8. ในขณะที่มีการตัดสิน ฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกบอลลงใกล้ๆ กับผู้เล่นนั้นทันที
* การยิงลูกโทษ
-ฝ่าย รับจะต้องอยู่ห่างจากจุดยิง ไม่น้อยกว่า 3 เมตร -ถ้าในขณะที่มีการยิงลูกโทษ ผู้รักษาประตูแตะหรือข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกจะหลุดจากมือผู้ยิงลูกโทษ ให้ทำการยิงประตูลูกโทษใหม่ (ถ้าลูกนั้นไม่ได้ประตู)
* การโยนลูกโดยผู้ตัดสิน
เมื่อมีการทำผิดกติกาพร้อมกัน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ทีม หรือหยุดการเล่นโดยไม่มีฝ่ายใดทำ กระทำที่จุดกึ่งกลางสนาม
* การสั่งพัก 2 นาที
จะ ส่งเมื่อมีการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้องหรือกระทำผิดซ้ำ ฯลฯ ถ้าคนเดิมถูกสั่งพักครั้งที่ 3 คนนั้นจะถูกตัดสินออกจากการแข่งขัน ในการเตือนจะให้ใบเหลืองเพื่อแสดงให้ผู้บันทึกทราบ และให้ใบแดงในกรณีที่ทำผิดรุนแรงเกินกว่าเหตุอื่นๆ อาจจะให้แก่ผู้เล่น
* ผู้ตัดสิน 2 คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น